ตัววิ่ง

ยิน ดี ต้อน รับ ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

   เด็กๆ ผู้ใหญ่คนไทย สมัยนี้บางคนท่องพญัชณะภาษาไทย 44 ตัวไม่ได้!!
   
พญัชณะภาษาไทย 44 ตัว



แต่น้องคนนี้ น้องดีแลนท์ และครอบครัวกับคุณพ่อ พีท ฮอลล์ เกี่ยวกับพฤติกรรมท่องจำที่แสนน่ารักของลูกชาย แม้ว่าจะเป็นภาษาไทย แต่คนทั่วโลกก็รับรู้ได้ถึงความน่ารักน่าชัง 
ยังท่องได้ เราคนไทยแท้ๆจะท่องไม่ได้ อายเด็กนะค้าาาาาาาา  ^^


น้องดีแลนท์ ฮาร์ดคอร์ ก.ไก่ โด่งดังใหญ่ ช่องบีบีซีอังกฤษ เชิญตัวไปสัมภาษณ์สด เรื่องคลิปท่องจำภาษาไทยที่ทั่วโลกกำลังสนใจ ด้านคุณแม่เป็นห่วง เพราะลูกชายยังเล็กและพูดภาษาไทยแทบไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คลิปวิดีโอเด็กลูกครึ่งไทย-อังกฤษ น้องดีแลนท์ ฮอลล์ ที่ท่องจำ ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก ลงบนเว็บไซต์ยูทูป จนกลายเป็นกระแสฮิตได้รับความนิยม มียอดผู้ชมมากว่า 2 ล้านครั้ง ภายใน 10 วัน และโด่งดังข้ามไปถึงประเทศอังกฤษ บ้านของน้องดีแลนท์ จนกระทั่งสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ ได้เชิญให้ไปสัมภาษณ์



วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ลิลิตตะเลงพ่าย

ลักษณะการแต่ง

แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน 439 บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์





เนื้อเรื่องย่อ

เริ่มด้วยการต้นชมพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย เป็นการเตือนสงครามไว้ก่อน ถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรีนั้น พระจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้ พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชากราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก
สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก ผิดกับพระองค์ และให้พระมหาอุปราชาไปเอาภัสตราภรณ์สตรีมาทรงเสีย พระมหาอุปราชาทรงอับอายและหวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชาเป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย
ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลรบ 5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่าครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารคไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อทรงทราบว่าพม่าส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ จึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาท แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชาทำยุทธหัตถีและทรงได้รับชัยชนะ โดยทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดคาคอช้าง พระแสงของ้าวนั้นได้รับการขนานนามในภายหลังว่า พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ทางด้านสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร
เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอันจบเนื้อเรื่อง  อ่านเพิ่ม
ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี 
(ร่าย) กล่าวสดุดีที่ทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติเกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ พร้อม
สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ
ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี
(โคลงสี่สุภาพ) บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง
ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป
เสร็จศึกแล้วก็ขึ้นครองราชสมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้าทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า


ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ 




วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


                        ***** ร่าย *****

ความหมายและลักษณะ

ร่าย คือ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุด และมีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรองประเภทอื่น ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าร่ายมีลักษณะใกล้เคียงกับคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วมาก เพียงแต่กำหนดที่คล้องจองและบังคับวรรณยุกต์ในบางแห่ง

[แก้]กำเนิดและวิวิฒนาการ

พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) สันนิษฐานว่าร่ายเป็นของไทยแท้ มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ด้วยปรากฏหลักฐานครั้งแรกในวรรณคดีสุโขทัยคือสุภาษิตพระร่วง และต่อมาจึงปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในวรรณคดีอยุธยาเรื่องโองการแช่งน้ำในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) สันนิษฐานว่าร่ายเป็นของไทยแท้ เพราะคนไทยนิยมพูดเป็นสัมผัสคล้องจอง ดังปรากฏประโยคคล้องจองในสำนวนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง กาพย์พระมุนีเดินดงของภาคเหนือ และคำแอ่วของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่า คำว่า "ร่าย" ตัดมาจาก "ร่ายมนต์" สังเกตจากโองการแช่งน้ำที่มีร่ายดั้นปรากฏเป็นเรื่องแรกและมีเนื้อหาเป็นคำประกาศในการดื่มน้ำสาบาน
วิวัฒนาการของร่ายน่าจะเริ่มจากสำนวนคล้องจองในศิลาจารึกและความนิยมพูดคล้องจองของคนไทยแต่โบราณ ในบทที่พระภิกษุใช้เทศนาก็ปรากฏลักษณะการคล้องจองอยู่ เป็นการรับส่งสัมผัสจากวรรคหน้าไปยังวรรคถัดไป โดยไม่ได้กำหนดความสั้นยาวของพยางค์อย่างตายตัว ซึ่งลักษณะนี้ใกล้เคียงกับร่ายประเภท "ร่ายยาว" มากที่สุด จึงมีการสันนิษฐานว่า ร่ายยาวเป็นร่ายที่เกิดขึ้นในอันดับแรกสุด ต่อมาจึงเกิด "ร่ายโบราณ" ซึ่งกำหนดจำนวนพยางค์และจุดสัมผัมคล้องจองตายตัว และตามมาด้วย "ร่ายดั้น" ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงดั้นเข้ามา สุดท้ายจึงเกิด "ร่ายสุภาพ" ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงสุภาพเข้ามา

[แก้]ประเภท

ร่ายมีสี่ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้ ดังนี้:
  1. ร่ายยาว
  2. ร่ายโบราณ
  3. ร่ายดั้น
  4. ร่ายสุภาพ

[แก้]


ตัวอย่าง



      ศรีสวัสดิเดชะ   ชนะราชอรินทร์  ยินพระยศเกริกเกรียง   เพียงพกแผ่นฟากฟ้า
หล้าหล่มเลื่องชัยเชวง     เกรงพระเกียรติระย่อ  ฝ่อใจห้าวบ่มิหาญ   ลาญใจแกล้วบมิกล้า
    เถลิงพระเกียรติฟุ้งฟ้า   ลือตรลบแหล่งหล้า   โลกล้วนสดุดี
              ( ลิลิตตะเลงพ่าย  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส )

ที่มา  หนังสือการแต่งคำประพันธ์  ประยอม  ซองทอง


วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เราเป็นไทย งามอย่างไทยกันะค่ะ^^
                                 มารยาทไทย
มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย
มารยาทไทย
มารยาทไทยกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
การแสดงความเคารพ อันเป็นมารยาทของคนไทย นิยมการประนมมือ การไหว้ และการกราบ
การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกันนิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกันไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอกให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไปรักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์และฟังเทศน์
การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถาน ในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่าให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว การไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้ระดับอก
การกราบ (อภิวาท) คือ การแสดงอาการกราบราบลงกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง ได้แก่ เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และศีรษะอันได้แก่ หน้าผากให้จรดกับพื้นเป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงต่อ พระรัตนตรัย มีขั้นตอนการปฏิบัติ 


วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธา 
ผู้แต่ง   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม 


บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธา 
-   เป็นบทพระราชนิพนธ์ ร.๖ (ขณะที่ทรงพระประชวร) เมื่อ ๒ ก.ย.-๑๘ ต.ค.๒๔๖๖ 
     ใช้เวลาในการพระราชนิพนธ์  ๑ เดือน ๑๗ วัน
-   ทรงคิดโครงเรื่องขึ้นเอง เพื่อให้เป็นตำนานแห่งดอกกุหลาบ
-   มีเนื้อหาทั้งหมด ๕ องก์ โดยสมมุติเรื่องให้เกิดในอินเดียโบราณ
-   ทรงค้นคว้าศัพท์ และความรู้ประกอบก่อนจะทรงตั้งชื่อเรื่องหรือตัวละคร 
     และยังนำข้อความรู้ต่างๆ  เช่นคุณสมบัติของดอกกุหลาบ  นำมาประยุกต์
     เข้ากับเรื่องราวในบทละครได้อย่างกลมกลืน 
-  ใช้คำประพันธ์หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ คำฉันท์ชนิดต่างๆเพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึก
    ใช้กาพย์ชนิดต่างๆเพื่อเน้นจังหวะเสียง  และยังมีบทพูดร้อยแก้วสำหรับตัวละครที่ไม่สำคัญ
 -  ดังนั้นบทละครพูดคำฉันท์นี้จึงได้รับยกย่อง จากวรรณคดีสโมสร
     ว่า  "แต่งดี"  เพราะ แปลกใหม่ และแต่งได้ยาก

วิเคราะห์เนื้อหา บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา
เนื้อหาทั้ง ๕ องก์ จะแบ่งออกเป็น ๒ ภาค ดังนี้
ภาคสวรรค์
       เทพบุตรสุเทษณ์หลงรักนางฟ้ามัทนา แต่นางไม่รักตอบ จึงสาปให้นางมาเป็นดอกกุหลาบ บนโลกมนุษย์ โดยกลาย เป็นหญิงได้คราวละ ๑ วัน ๑ คืน ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ ถ้ามีความรักก็จะพ้นสภาพจากการเป็นดอกกุหลาบ และหากมีทุกข์เพราะรักก็ให้วิงวอน พระองค์จะลงมาช่วย

ภาคโลกมนุษย์
      ฤๅษีกาละทรรศินนำกุหลาบไปปลูกไว้ โดยเลี้ยงดูเหมือนลูก ท้าวชัยเสนมาพบมัทนาก็เกิดความรักต่อกัน และพานางกลับเมือง แต่นางจันฑีมเหสีหึงหวง จึงออกอุบายว่ามัทนาเป็นชู้กับศุภางค์ทหารเอก   ชัยเสนหลงเชื่อจึงสั่งประหาร แต่โชคดีที่อำมาตย์เอกปล่อยให้กลับไปหาฤๅษีที่ป่าหิมะวันดังเดิม ต่อมาชัยเสนรู้ความจริง จึงจะไปรับมัทนากลับ ขณะนั้น มัทนาได้วิงวอนให้สุเทษณ์มารับกลับสวรรค์ แต่นางก็ไม่ยอมรับรักสุเทษณ์      จึงถูกสาปให้เป็นกุหลาบตลอดไป ชัยเสนมาถึงก็ ได้แต่นำกุหลาบไปปลูกไว้ที่เมืองหัสตินาปุระ 

อ่านต่อ